อักษรเฮียโรกลิฟิกส์

อักษรเฮียโรกลิฟิกส์


เฮียโรกลิฟิกส์ (Hieroglyphics) เป็นอักษรโบราณ ซึ่งจารึกหรือระบายสีไว้บนผนังด้านในของอนุสรณ์สถานอียิปต์โบราณที่มีมานานกว่า 3,000 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นภาษาที่เก่าแก่ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวอียิปต์ ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านวัฒนธรรม อันส่งผลให้นักโบราณคดีรุ่นหลังมุ่งมั่นค้นคว้าและสืบเรื่องราวย้อนหลังไปกว่า 3,000 ปี เพื่อให้ได้รู้ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณอันน่าพิศวง

เฮียโรกลิฟิกส์ เป็นอักษรภาพอย่างหนึ่งของอียิปต์โบราณ เพิ่งมีการอ่านและแปลความหมายได้อย่างชัดเจนเป็นระบบเมื่อมีการค้นพบหินโรเซ็ตตา ในปี พ.ศ.2342 ที่จารึกโดยตัวอักษร 3 แบบ คือ กรีกโบราณ ดีโมติก และเฮียโรกลิฟ การเปรียบเทียบชื่อราชวงศ์ต่างๆ โดยใช้ตัวอักษร 3แบบ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาโบราณสามารถอ่านอักษรเฮียโรกลิฟ ได้ใน 25 ปีต่อมา

ลักษณะ

อักษรเฮียโรกลิฟิกส์อาจจะเก่ากว่าอักษรรูปลิ่มของชาวสุเมเรีย ทิศทางการเขียนเป็นได้หลายแบบ ทั้งแนวนอน ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย แนวตั้งจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย การบอกทิศทาง สังเกตจากการหันหน้าของรูปคนหรือสัตว์ ซึ่งจะหันหน้าเข้าหาจุดเริ่มต้นของเส้น อียิปต์ยุคต้นและยุคกลาง (ราว 1,457-1,057 ปีก่อนพุทธศักราช) ใช้สัญลักษณ์ 700 ตัว ในยุคกรีก-โรมัน ใช้สัญญลักษณ์มากกว่า 5,600 ตัว สัญลักษณ์แต่ละตัวบอกทั้งการออกเสียงและความหมาย เช่นสัญลักษณ์ของจระเข้ เป็นรูปจระเข้รวมกับสัญญลักษณ์แทนเสียง “msh” เช่นเดียวกับคำว่าแมว “miw” จะใช้รูปแมว รวมกับสัญลักษณ์แทนอักษร m i และ w อักษรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอักษรเฮียโรกลิฟฟิกของอียิปต์จะเรียกอักษรเฮียโรกลิฟฟิกด้วย เช่นอักษรเฮียโรกลิฟฟิกของชาวลูเวียและชาวฮิตไตน์

จุดกำเนิด

ชาวอียิปต์เชื่อว่าอักษรนี้ประดิษฐ์โดยเทพเจ้าโทห์ และเรียกชื่ออักษรว่า mdwt ntr (คำพูดของพระเจ้า) คำว่าเฮียโรกลิฟิกส์ มาจากภาษากรีก hieros (ศักดิ์สิทธิ์) + glypho (จารึก) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรก โดยคลีเมนต์แห่ง อเล็กซานเดรีย การเขียนในอียิปต์ที่เก่าที่สุด เริ่มเมื่อราว 2,857 ปีก่อนพุทธศักราช ส่วนอักษรเฮียโรกลิฟฟิกที่ใหม่ที่สุด เป็นประกาศที่กำแพงวิหารในฟิแล (philae) อายุราว พ.ศ. 939 อักษรนี้ใช้กับจารึกอย่างเป็นทางการ ตามกำแพงวิหารและหลุมฝังศพ บางแห่งมีการระบายสีด้วย การเขียนทั่วไปในชีวิตประจำวันใช้อักษรเฮียราติก หลังจากจักรพรรดิทีออสซิอุสที่ 1 สั่งปิดวิหารของพวกเพเกิน ทั่วจักรวรรดิโรมันในช่วงพ.ศ. 1000 ความรู้เกี่ยวกับอักษรนี้ได้สูญหายไป จนกระทั่ง ฌอง-ฟรองซัว ฌองโปลิอง ชาวฝรั่งเศสถอดความอักษรนี้ได้

และเมื่อมีการค้นพบศิลาจารึกโรเช็ตตา ซึ่งเป็นแผ่นหินบะซอลต์สีดำ สูงประมาณ 140 เซนติเมตร กว้าง 72 เซนติเมตรในปี ค.ศ. 1799 ที่เมืองโรเช็ตตา ประเทศอียิปต์ บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจึงพยายามศึกษาเพื่อถอดความหมายของอักษรโบราณนี้ และพบว่าบนศิลาจารึกมีจารึกเป็นอักษร 3 ภาษา คือ อักษรเฮียโรกลิฟิกส์ อักษรเดโมติก และอักษรกรีกโบราณ ข้อความบนศิลาจารึกขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 5 เมื่อประมาณ 196 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ผู้ที่สามารถถอดความหมายของอักษรเฮียโรกลิฟิกส์ได้สำเร็จก็คือ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศลที่ชื่อ ฌอง-ฟรองซัว ชองโปลิอง (Jean-Francois Champollion) เขาสามารถสรุปได้ว่า อักษรเฮียโรกลิฟิกส์สะกดคำโดยถือเสียงเป็นเกณฑ์ และตัวอักษรจริงๆ แล้วมีเพียง 66 ตัว ที่ใช้ประสมเป็นคำ ซึ่งแทนเสียงพยัญชนะและสระในภาษาพูด และอักษรบางตัวก็ใช้ซ้ำๆ กันชองโปลิองศึกษาภาษาโบราณนี้อยู่นานถึง 14 ปี เขาก็สามารถรวบรวมตำราไวยากรณ์และพจนานุกรมภาษาอียิปต์ได้สำเร็จ

ตั้งแต่นั้นมามนุษย์ในยุคปัจจุบัน จึงสามารถเรียนรู้อารยธรรมอียิปต์โบราณอันยิ่งใหญ่ควบคู่ไปกับการได้เห็นหลักฐาน คือ มหาพีระมิดแห่งกิเซและมัมมี่ขององค์ฟาโรห์

สนับสนุนบทความโดย ข่าวเกม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ครม. มีมติต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน

sbobet ทางเข้า มือถือ การเล่นบาส

Hong Kong 2 วัน 1 คืน เที่ยวง่ายด้วยตัวเอง กับงบไม่ถึง 5พัน